โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย ...
การเข้าใจความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ถูกเรียกว่า บิดอะฮ์ (อุตริกรรมในศาสนา) กับมะศอลิห์ มุรฺสะละฮ์ (สิ่งดีของศาสนาที่ถูกปล่อยวางไว้) เป็นเรื่องสำคัญมาก ...
เพราะอย่างแรก เป็นสิ่งห้ามทำในศาสนา ...
ส่วนอย่างหลัง เป็นสิ่งที่ศาสนาอนุญาตหรือส่งเสริมให้ทำ ...
เป้าหมายของทั้งสองอย่างนี้จึงเป็นเส้นขนานกัน ไม่อาจมาบรรจบกันได้ ..
แต่ .. ที่สำคัญ ทั้ง 2 อย่างนี้ มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน .. มีความหมายคล้ายกันหรือแทบจะเหมือนกัน - เหมือนฝาแฝด - จนบางคนแยกแยะไม่ออก ...
ไม่รู้ว่า สิ่งไหนเป็นบิดอะฮ์, สิ่งไหนเป็นมะศอลิห์ มุรฺสะละฮ์ ...
เรื่องของเรื่อง จึงทำให้เกิดความเข้าใจสับสนจนทุกวันนี้ ...
ก่อนอื่นขอเรียนว่า ผมเขียนเรื่องนี้ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ไม่มีเป้าหมายเพื่อกระแนะกระแหนใคร และไม่มีเป้าหมายเพื่อกล่าวหาใครว่าทำบิดอะฮ์ ...
แต่ต้องการจะอธิบายให้เห็นมุมมองของนักวิชาการว่า .. ที่เขากล่าวหาสิ่งใดว่าเป็นบิดอะฮ์, ทำไม่ได้ .. เขามีมุมมองอย่างไร..
และที่เขากล่าวว่าสิ่งใดเป็นมะศอลิห์ มุรฺสะละฮ์, เป็นสิ่งที่ทำได้ เขามีมุมมองอย่างไร ...
ทุกอย่างที่เขียนนี้ จึงเป็นเรื่องของวิชาการทั้งสิ้น ...
ก็ขออธิบายเรื่องแรก .. คือเรื่องบิดอะฮ์ก่อน ..
ความจริง เรื่องบิดอะฮ์นี้ผมเคยเขียนอธิบายมาอย่างละเอียดนานแล้ว และสำนักพิมพ์อัซซาบิกูน ของ อ.ชารีฟ วงศ์เสงี่ยม และ อ.อามีน ลอนา ก็ได้นำไปพิมพ์แล้วภายใต้ชื่อเรื่อง "คำนะศีฮัตแก่ผู้ที่เชื่อในบิดอะฮ์หะสะนะฮ์" ...
ในบทความนี้ ผมจึงขออธิบายเรื่องบิดอะฮ์นี้พอสังเขปเท่านั้น เพราะเป้าหมายใหญ่คือ ต้องการให้ท่านเข้าใจข้อจำแนกระหว่างบิดอะฮ์กับมะศอลิห์มุรฺสะละฮ์ มากกว่า ...
คำว่าบิดอะฮ์ - ตามหลักภาษา - หมายถึง.. "การกระทำสิ่งใหม่ที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน"
ถ้าการกระทำสิ่งใหม่ที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อนเป็นเรื่องทางโลก เขาจะแปล "บิดอะฮ์" ในเรื่องนี้ว่า การประดิษฐ์สิ่งใหม่, การผลิตสิ่งใหม่, การริเริ่มทำสิ่งใหม่ ..
และ .. สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ในเรื่องทางโลกนี้ จะมี 2 ลักษณะ คือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ดี และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ชั่วหรือเลว ...
ถ้าสิ่งประดิษฐ์ใหม่เป็นสิ่งดีมีคุณประโยชน์แก่ชาวโลกและไม่ขัดต่อหลักการศาสนา .. เช่นประดิษฐ์รถยนตร์, ประดิษฐ์รถไฟ, ประดิษฐ์เครื่องบิน, ประดิษฐ์คอมพิวเตอร์, ประดิษฐ์ยารักษาโรคต่างต่างๆ, ประดิษฐ์เครื่องใช้เครื่องมือทางการแพทย์, ผลิตไฟฟ้า, ผลิตระบบประปา, ประดิษฐ์เครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ ฯลฯ ก็จะเรียกสิ่งประดิษฐ์นี้ว่าเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (بِدْعَةٌ حَسَنَةٌ) หรือบิดอะฮ์ดี ...
แต่ถ้าสิ่งที่ถูกประดิษฐ์หรือผลิตขึ้นมาใหม่ทางโลก เป็นสิ่งที่เป็นพิษภัยต่อชาวโลกและขัดต่อบทบัญญัติศาสนา เช่น ผลิตยาบ้า, ผลิตเฮโรอิน, ผลิตน้ำกระท่อม, ผลิตอุปกรณ์เล่นการพนันชนิดต่างๆ ฯลฯ ก็จะเรียกสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ว่า บิดอะฮ์ ซัยยิอะฮ์ (بِدْعَةٌ سَيِّئَةٌ) หรือบิดอะฮ์เลว ...
เพราะฉะนั้น คำว่าบิดอะฮ์ หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี จึงมีเฉพาะในเรื่องทางโลก ..
หรือถ้าหากจะมองว่า อิสลามคือ "ระบอบในการดำเนินชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่างที่แวดล้อมตัวเราล้วนเป็นเรื่องของอิสลามทั้งสิ้น" .. เราก็กล่าวได้ว่า .. "บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ - ถ้าจะมีในอิสลาม - ก็จะมีเฉพาะใน "ส่วนที่เกี่ยวกับทางโลก" ของอิสลามเท่านั้น ..
อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์, เรื่องบาปเรื่องบุญ ..
ในส่วนนี้จะไม่มีคำว่าบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ทว่า .. สิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ทั้งหมดในเรื่องอิบาดะฮ์และเรื่องบาปเรื่องบุญ ล้วนเป็นบิดอะฮ์ที่หลงผิดทั้งสิ้น .. ตามคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะอละยฮิวะซัลลัม ...
คำอธิบายดังกล่าว ผมมิได้อธิบายเอง แต่เป็นคำอธิบายของนักวิชาการชั้นแนวหน้าของมัษฮับชาฟิอีย์ คือท่านอิบนุหะญัรฺ อัลอัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ และนักวิชาการอื่นๆอีกมาก ...
ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253 เอาไว้ว่า ......
فَالْبِدْعَـةُ فِيْ عُرْفِ الشَّرْعِ مَذْمُوْمَةٌ، بِخِلاَفِ اللُّـغَةِ فَإِنَّ كُلَّ شَىْءٍ اُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ يُسَمَّى بِدْعَـةً، سَوَاءٌ كَانَ مَحْمُوْدًا اَوْمَذْمُوْمًا ........
“ดังนั้น คำว่าบิดอะฮ์ ในความหมายตามนัยของบทบัญญัติ(ทั้งหมด) จึงเป็นสิ่งที่ถูกประณาม, ซึ่งแตกต่างกับ(ความหมายของมัน)ในด้านภาษา เพราะทุกๆสิ่งที่ถูกสร้างให้มีขึ้นมาโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน เรียกว่าบิดอะฮ์(ตามหลักภาษา)ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือสิ่งเลว” ...
และท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ นักวิชาการฟิกฮ์แห่งมัษฮับชาฟิอีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 974) ได้เขียนไว้ในหนังสือ “อัล-ฟะตาวีย์” ของท่านว่า ...
فَإنَّ الْبِدْعَـةَ الشَّرْعِـيَّةَ ضَلاَلَـةٌ كَمَا قَالَ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ وَمَنْ قَسَّمَهَا مِنَ الْعُلَمَاءِ إلَى حَسَنٍ وَغَيْرِ حَسَنٍ فَإنَّمَا قَسَّمَ الْبِدْعَـةَ اللُّغَوِيَّـةَ، وَمَنْ قَالَ كُلُّ بِدْعَـةٍ ضَلاَلَـةٌ فَمَعْنَاهُ الْبِدْعَـةُ الشَّرْعِيَّةُ .....
“แน่นอน (ทุกๆ)บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์ (บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ) นั้น เป็นความหลงผิด! .. ดังคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, .. และนักวิชาการท่านใดที่แบ่งมันออกเป็นบิดอะฮ์ดีหรือบิดอะฮ์ไม่ดี ก็มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นการแบ่งมันตามนัยของภาษาเท่านั้น, และผู้ใดที่กล่าวว่า "ทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิด" .. ความหมายของมันก็คือ บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ(بِدْعَةٌ شَرْعِيَّةٌ) ” ....
ถ้าอย่างนั้น بِدْعَةٌ شَرْعِيَّةٌ มีความหมายอย่างไร ? ...
นักวิชาการได้ให้คำนิยามของคำว่า بِدْعَةٌ شَرْعِيَّةٌ ไว้หลากหลายสำนวน แต่คำนิยามที่ผมเห็นว่า ที่มีน้ำหนักที่สุดก็คือ คำนิยามของนักวิชาการอุศู้ลฯ ที่ว่า ...
اَلْبِدْعَةُ هِىَ فِعْلُ مَا تَرَكَهُ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسّلَّمَ مَعَ قِيَامِ الْمُقْتَضِىْ وَانْتِفَاءِ الْمَانِعِ
"บิดอะฮ์ (ชัรฺอียะฮ์) ก็คือ การกระทำใดสิ่งที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมละทิ้ง (คือไม่ทำ) มัน ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริม (หมายถึงเป็นสิ่งดีตามมุมมองผู้ที่ทำ) .. และไม่มีอุปสรรคใดๆมาขัดขวางท่าน(จากการกระทำสิ่งนั้น)" ...
จากคำนิยามที่ว่า "ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมละทิ้งมัน" บ่งบอกความหมายว่า สิ่งนั้น .. "เคยมีเหตุการณ์หรือมีสาเหตุเกิดขึ้นแล้วในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม" ...
เพราะสิ่งใดที่ไม่เคยมีเหตุการณ์หรือสาเหตุเกิดขึ้นในสมัยของท่าน จะมากล่าวว่า ท่าน "ละทิ้งมัน" ย่อมไม่ได้ ....
อีกนัยหนึ่ง ความหมายบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ ก็คือ .. "การทำสิ่งใดที่ประเด็นส่งเสริมให้ทำสิ่งนั้น(หมายถึง เป็นสิ่งดีในมุมมองของผู้ทำ) เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่ท่านไม่กระทำสิ่งนั้น ทั้งๆที่ไม่มีอุปสรรคใดๆขัดขวาง" ...
ตัวอย่างของบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ - ตามกฎเกณฑ์ข้อนี้ - ผมจะกล่าวในตอนหลัง ...
ต่อไปก็เป็นเรื่องของมะศอลิห์ มุรฺสะละฮ์ (اَلْمَصَالِحُ الْمُرْسَلَةُ) บ้าง ...
คำว่า "มะศอลิห์ มุรฺสะละฮ์ (اَلْمَصَالِحُ الْمُرْسَلَةُ)" ที่หลายคนไม่เคยได้ยินมาก่อน มีความหมายว่า .. "สิ่งดีๆที่ถูกละไว้, สิ่งดีๆที่ถูกปล่อยวางไว้" ...
คำว่า "สิ่งดีๆ" ในที่นี้ หมายถึงสิ่งดีๆตามหลักการอิสลาม และตามมุมมองของมุสลิมทั่วไปด้วย ...
คำว่า "ถูกละไว้, ถูกปล่อยวางไว้" .. หมายความว่า สาเหตุของสิ่งนั้นเคยมีมาแล้วในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่มีการปล่อยวาง .. คือไม่มีกระทำสิ่งนั้นเลยในสมัยของท่านศาสดา, .. หรืออาจเคยมีการกระทำอยู่ระยะหนึ่งแล้วถูกปล่อยวาง.. คือถูกระงับหรือยุติจากการกระทำในตอนหลัง ...
แล้วผู้ที่ "ปล่อยวาง" สิ่งนั้นคือใคร ? ...
คำตอบก็คือ ผู้ที่ปล่อยวางสิ่งนั้นได้แก่ .. ท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม !...
หากมีคำถามต่อไปว่า .. ทำไม ท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงปล่อยวางหรือไม่กระทำสิ่งนั้นในสมัยของท่าน ? ...
หากมีคำถามต่อไปว่า .. ทำไม ท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงปล่อยวางหรือไม่กระทำสิ่งนั้นในสมัยของท่าน ? ...
คำตอบก็คือ .. ที่ท่านต้องปล่อยวางหรือไม่ทำ ก็เพราะท่านมีอุปสรรคจนไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ ..
สรุปแล้ว มะศอลิห์มุรฺสะละฮ์ ก็คือ "สิ่งดี (ตามหลักการอิสลาม) ที่ประเด็นส่งเสริมให้ทำสิ่งนั้นเคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่ท่านไม่ทำสิ่งดีนั้น เพราะมีอุปสรรค" ...
เมื่อนำสิ่งที่เรียกว่าบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ที่ผ่านมาแล้ว คือ .. "การทำสิ่งดี (ตามมุมมองของผู้ทำ) ที่ประเด็นส่งเสริมให้ทำ มีมาตั้งแต่สมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมแล้ว แต่ท่านไม่ทำสิ่ง(ดี) นั้น ทั้งๆที่ไม่มีอุปสรรคใดๆ" ... มาเทียบ ท่านผู้อ่านก็จะเห็นได้ว่า ...
ทั้งสองอย่างคล้ายกันจนเกือบจะเป็นเรื่องเดียวกัน ..
ทั้งสองอย่างคล้ายกันจนเกือบจะเป็นเรื่องเดียวกัน ..
คือ เป็นสิ่งดีเหมือนกัน, ประเด็นส่งเสริมให้ทำสิ่งดีนั้นเคยเกิดขึ้นแล้วในสมัยท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเหมือนกัน, และท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ "ไม่ทำ" สิ่งดีทั้งสองอย่างนั้นเหมือนกัน ..
นี่คือ "จุดเหมือน" ..
ส่วนจุดต่างของมะศอลิห์มุรฺสะละฮ์ กับบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ ก็คือ ...
สิ่งที่เป็นมะศอลิห์มุรฺสะละฮ์ .. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ทำ "เพราะมีอุปสรรค" ...
ส่วนสิ่งที่เป็นบิดอะฮ์ชัรฺอียะฮ์ .. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ทำ "ทั้งๆที่ไม่มีอุปสรรค" ...
ก็จุดนี้แหละที่ผมบอกว่า ความต่างของสองสิ่งนี้ เป็นเรื่อง "เส้นผมบังภูเขา" ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น