อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อัลมะศอลิฮฺ อัลมุรสะละฮฺ สิ่งดีที่ถูกละไว้






ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

ถาม

ผมมีสิ่งที่อยากให้อ.ชี้แจง ผลและพี่น้องจะได้ความรู้ไปด้วย อินชาอัลลอฮ ในประเด็นของمصالح مرسلة อัลมะศอลิฮฺ อัลมุรสะละฮฺ ตามที่ อ.ได้นำเสนอ คือ สิ่งดีที่ถูกละไว้ สาเหตุของสิ่งนั้นเคยมีมาแล้วในสมัยของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่มีการปล่อยวาง .. คือไม่มีกระทำสิ่งนั้นเลยในสมัยของท่านศาสดา, .. หรืออาจเคยมีการกระทำอยู่ระยะหนึ่งแล้วถูกปล่อยวาง.. คือถูกระงับหรือยุติจากการกระทำในตอนหลัง (ถูกต้องนะคับ)ซึ่งดูแล้วมันแคบไปหรือไม่ เพราะกล่าวถึงเฉพาะสิ่งดีที่เคยเกิดขึ้นในสมัยนบีแต่มีการปล่อยวางในภายหลัง ตามที่ผมเคยศึกษามาจะมีการอธิบายความหมายตรงนี้ไปยัง ผลประโยชน์ต่างๆที่ถูกละไว้ ไม่มีตัวบทกล่าวถึงแต่อย่างใด หรือ เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวบทกล่าวถึงหรือปฏิเสธมัน ซึ่งหลักการตัวนี้มันรักษาผลประโยชน์ของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ใช่เฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยนบีเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงปัญหาใหมๆที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเสียชีวิตของท่านนบีไปแล้ว ด้วยกับกาลเวลาสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด ปัญหาใหม่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงจำเป็นจะต้องยึดหลัการ มะศอลิฮ มุรสละฮฺ ในประเด็นนั้นๆเพื่อผลประโยชน์ของมนุษย์และขจัดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งจะต้องไม่ขัดต่อตัวบทหลักฐาน และอาศัยมันในการกำหนดกฏหมายอิสลาม ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติหรือฮุ่กุ่ม เช่น ในเรื่องการสร้างถนนหนทาง การจัดตั้งองค์กรต่างๆเพื่อส่วนรวม และเรื่องอื่นๆ โดยจะต้องไม่ใช่เรื่อง อิบาดะฮฺ วัลลอฮุอะลัมครับ หากผิดพลาดประการใด อยากให้อ.นำเสนอและชี้แจงครับ ขออัลลอฮตะอาลาตอบแทนท่านครับ
برك الله فيك
หลานครูชุอิบ

ตอบ

สิ่งที่คุณยกตัวอย่างมาทั้งหมด หากจะเรียกว่าเป็นมะศอลิห์ ก็คงถูกต้องครับ เพราะมะศอลิห์ แปลว่าสิ่งดีๆทั้งหลาย ซึ่งไม่จำกัดว่าจะเกิดขึ้น "ในสมัยท่านนบีย์" หรือ "หลังจากท่านนบีย์แล้ว" ...
แต่ถ้าต่อท้ายด้วยคำว่า "มุรสะละฮ์" ก็ต้องหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยท่านนบีย์แล้วเท่านั้น ..
ตัวอย่างที่คุณกล่าวมา เป็นตัวอย่าง "สิ่งดีๆทางโลกหรือทางสังคม" ที่เกิดขึ้นหลังจากสมัยท่านนบีย์แล้ว จึงเรียกว่า "มะศอลิห์" ได้ ..
และการริเริ่มกระทำสิ่งดีๆที่มีประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์ - ไม่ว่าผู้ริเริ่มจะเป็นมุสลิมหรือมิใช่มุสลิมก็ตาม - ดังตัวอย่างที่คุณอ้างมานี้แหละครับที่ผมกล่าวในตอนต้นว่า เป็น "บิดอะฮ์ หะสะนะฮ์" ..
แต่จะใช้คำว่า "มุรฺสะละฮ์" ด้วย กับ "สิ่งดี" ที่เกิดขึ้นในยุคหลังเหล่านี้ก็คงไม่ถูกต้อง
เพราะคำว่า "มุรฺสะละฮ์" เป็นนามกรรม แปลว่า .. "สิ่งที่ถูกละไว้, สิ่งที่ถูกปล่อยวางไว้ ..
คำว่า "ถูกละหรือถูกปล่อยวาง" แสดงว่า จะต้องมี "ผู้ละ, ผู้ปล่อยวาง" สิ่งนั้น ...
เช่นเราพูดว่า "งูถูกตีตาย" ก็หมายถึงว่า ต้องมี "ผู้ตี" งูนั้นตาย ไม่ได้หมายถึงงูตายเอง .. ..
หรือเราพูดว่า "มนุษย์ถูกสร้าง" ก็แสดงว่า มนุษย์ต้อง "มีผู้สร้าง" แต่เรามิได้กล่าวถึงเช่นเดียวกัน ..
ในเรื่องของมะศอลิห์มุรฺสะละฮ์ .. ผู้ที่ละหรือปล่อยวางสิ่งดีๆเหล่านั้น หมายถึงท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังที่ผมอธิบายไปแล้ว ..
คำว่า "มะศอลิห์มุรฺสะละฮ์" จึงมิได้หมายถึง "สิ่งดีที่เกิดขึ้นเองตามวาระ, ตามจังหวะ หรือตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม" ยุคหลัง .. ดังตัวอย่างที่คุณยกมานั้น ...

ทีนี้ สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสมัยของท่านนบีย์ อันเป็นสิ่งดีๆทางสังคมที่เกิดขึ้นมาในยุคหลัง ท่านจะ "ละ" หรือ "ปล่อยวาง" มันได้อย่างไร ...
เพราะฉะนั้น คำว่า "บิดอะฮ์หะสะนะฮ์" กับ "มะศอลิห์มุรฺสะละฮ์" จึงมีความหมายคนละอย่างครับ วัลลอฮุ อะอฺลัมครับ ...
(สิ่งที่ผมเขียนไปในไทม์ไลน์ โปรดอ่านช้าๆและวิเคราะห์ไปด้วยครับ เพราะมันค่อนข้างละเอียดอ่อนสักหน่อย) ..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น