ตอบโดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
อัสลามูอาลัยกุม อาจารย์ ค่ะ
มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับกรณีมุสลิมกับคนต่างศาสนิก ที่เขาทำกัน ไม่ทราบว่าทำได้หรือเปล่า จึงอยากถามอาจารย์ให้แน่ใจค่ะ คือ
1. กรณีที่พระกำลังออกบิณฑบาต มีมุสลิมนำอาหารใส่ลงบาตรให้พระ, กรณีขึ้นรถทัวร์ โดยนั่งใกล้กับพระ เลยให้น้ำอาหารพระ และกรณีแม่เคยนับถือศาสนาอิสลาม แต่เมื่อเลิกกับสามีที่เป็นมุสลิม เลยกลับมานับถือศาสนาพุทธเหมือนเดิม แต่ลูกยังนับถือศาสนาอิสลาม ขณะที่แม่กำลังบวชชีอยู่ที่วัด ลูกได้นำอาหารเครื่องดื่มไปให้แม่
2. ผู้อำนวยการ แห่งหนึ่งเป็นมุสลิม ทางมหาลัยมีการทำพีธีสักการะรูปปั้นในมหาลัย ผู้อำนวยการร่วมไหว้รูปปั้นนั้นด้วย แต่ไม่ได้มีใจศรัทธารูปปั้นนั้นแต่อย่างใด แต่ในฐานะผู้อำนวยการ เพื่อให้เห็นว่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ ไม่แบ่งแยก
3. ทางสถานที่แห่งหนึ่งมีการทำพิธีประดิษฐานและบวงสรวง รูปปั้น โดยทำพิธีพราหมณ์ และเต็นท์หนึ่งก็มีพระทำพิธีทางพุทธ และอีกเต็นท์หนึ่งมีพิธีอิสลามโต๊ะลาแบได้ขอพรดุอาอ์ อ่านยาซีน รับประทานอาหารพร้อมซอง
4.มีการทำพิธีทำบุญกุโบร์ (อีซีกุโบร์) ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปี และตรงกับชาวพุทธที่ทำพิธีอุทิศให้กับญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว เมื่อชาวมุสลิมทำบุญกูโบร์ ชาวพุทธในหมู่บ้านก็มาร่วมรับประทานอาหาร และเมื่อชาวพุทธทำบุญ มุสลิมก็ไปร่วมรับประทานอาหารด้วยเช่นกัน มีความรักสมัคคีกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในหมู่บ้านนั้น
ตอบ
วะอลัยกุมุสสลาม ..
ปัญหาของคุณที่ถามมาข้างต้น ผมขอตอบในภาพรวมว่า ที่อิสลามไม่ห้ามและสามารถปฏิบัติได้ก็คืิอ การนั่งในรถทัวร์, รถไฟ หรือเครื่องบินใกล้พระสงฆ์แล้วสนทนากัน, การให้น้ำดื่มแก่พระสงฆ์, ลูกนำอาหารไปให้แม่ที่บวชชีอยู่ ..
อื่นจากสามประการนี้ เป็นพิธีกรรม "เฉพาะ" ของศาสนิกอื่นเขา ไม่มีปรากฏใน
แบบอย่างของอิสลามอันบริสุทธิ์ จึงไม่ใช่กิจการที่มุสลิมผู้ศรัทธาที่แท้จริง จะเข้าไปร่วมแจมกับพวกเขาด้วยประการทั้งปวงครับ ..
วัลลอฮุ อะอฺลัม ..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น