อารัมภบทของอาจารย์ปราโมทย์

พี่น้องที่เคารพครับ .. ขอเรียนว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาที่ถูกถามมาเป็นปัญหาขัดแย้งหรือปัญหาคิลาฟียะฮ์ เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาดังกล่าว หากปัญหาใดไม่สำคัญมากนัก ผมก็จะตอบแบบสรุปตามทัศนะที่มีน้ำหนักด้านหลักฐานมากที่สุดสำหรับผมโดยไม่ได้นำมุมมองด้านตรงข้ามมาด้วย แต่หากปัญหาใดจำเป็นต้องมีการชี้แจง ผมก็จะนำหลักฐาน(และการวิเคราะห์)รายละเอียดทั้งสองด้าน ประกอบในคำตอบด้วย และขอเรียนว่า

(1). คำตอบของผมแทบทั้งหมดไม่ใช่เป็นการอธิบายหะดีษหรืออัล-กุรฺอานเอาเองอย่างที่บางคนเข้าใจ แต่จะมีที่มาจากอิหม่ามทั้ง 4 ท่านที่โลกอิสลามยอมรับและนักวิชาการระดับโลกท่านอื่นๆด้วยทั้งสิ้น เพียงแต่บางครั้งผมมิได้อ้างนามพวกท่านในการตอบก็เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนเท่านั้น

(2). คำตอบของผมในปัญหาใด ไม่ถือว่าเป็น "ข้อชี้ขาด" ความขัดแย้งในปัญหานั้น แต่เป็นการตอบตามการมองหลักฐานว่ามีน้ำหนักที่สุดในมุมมองของผม ซึ่งมุมมองของผมอาจจะผิดพลาดก็ได้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. เท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่งในเรื่องนี้ ...

อ.ปราโมทย์ (มะหมูด) ศรีอุทัย


ติดต่ออาจารย์ปราโมทย์โดยตรงได้ที่

1. 1/22 หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ม. 5 ต. นาเคียน อ. เมือง จ. นคร ศรีธรรมราช รหัส 80000

2. เบอร์โทรศัพท์ 086-6859660

3. Facebook

4. เว็บไซต์

5.อีเมล
pramote.sriutai2559@gmail.com

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ไม่สามารถถือศิลอดขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร จะชดใช้ศิลอดที่ขาดไปอย่างไร


โดย อ.ปราโมทย์  ศรีอุทัย

ตอบคำถามคุณ Anas Ibnu Ahmad

อัสสลามุอลัยกุมคับ อาจารย์
อ. คับ ในกรณีสตรีให้นมบุตร ไม่ได้ถือศีลอดในปีที่ผ่านมาตลอดทั้งเดือน อันเนื่องจากแพ้ท้องอย่างหนักตอนตั้งครรภ์ เมื่อคลอดลูกออกมาต้องให้นมบุตรตลอดทั้งปี แบบนี้ต้องชดใช้ศีลอดที่ขาดไปของรอมฎอนปีที่แล้วยังไงบ้างคับ ...
(ถึงตอนนี้ ณ เวลานี้ สตรีผู้นั้นยังไม่ได้ชดใช้ศีลอดที่ขาดไปคับ) ...

ตอบ

ในกรณีสตรีที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรนี้ นักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกันครับ
..
ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์และท่านอิหม่ามอะห์มัดได้จำแนกกรณีนี้ว่า หากสตรีทั้งสองนั้นเกรงว่าการถือศีลอดจะเป็นอันตรายต่อ "ตัวนางเอง" หรือเป็นอันตรายทั้ง "ต่อตัวนางและบุตรของนาง" ก็ให้นางถือศีลอดชดใช้เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องบริจาคอาหาร ...

แต่ถ้านางเกรงว่า การถือศีลอดจะเป็นอันตรายต่อ "บุตร"" ของนาง ก็ให้นางบวชชดใช้ด้วย และจ่ายฟิดยะฮ์ (คือบริจาคอาหาร) ด้วย ..

ส่วนในทัศนะของท่านอบูอุบัยด์, ท่านอบูษูรฺ และนักวิชาการมัษฮับหะนะฟีย์กล่าวว่า .. ให้สตรีทั้งสองนั้นถือบวชชดใช้เพียงอย่างเดียวในทุกๆกรณี ไม่จำเป็นต้องจ่ายฟิดยะฮ์อีก ..

ทัศนะทั้งหมดดังข้างต้นนี้ ผมยังไม่เคยเจอหลักฐานที่ชัดเจนยืนยันเลยครับ ..

แต่เศาะหาบะฮ์ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 2 ท่านคือ ท่านอับดุลลอฮ์ บินอุมัรฺ ร.ฎ. กับท่านอับดุลลอฮ์ บินอับบาส ร.ฎ. กล่าวว่า สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร แล้วไม่ได้ถือศีลอด เนื่องจากเกรงจะเป็นอันตรายต่อตัวนางเองหรือบุตร ก็ให้นางจ่ายฟิดยะฮ์เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องบวชชดใช้ ...

คำกล่าวของเศาะหาบะฮ์ทั้งสองท่านนี้ ถูกบันทึกโดยท่านมาลิก, ท่านอบูดาวูด, ท่านอัด-ดารุกุฏนีย์, ท่านอัล-บัยฮะกีย์, และท่านอัล-บัซซารฺ ด้วยสายรายงานที่เชื่อถือได้ ...

ดังนั้น สรุปแล้ว สตรีทั้ง 2 กรณีข้างต้นจึงมีสิทธิ์เลือกปฏิบัติ คือ จะถือบวชชดใช้ตามทัศนะของนักวิชาการที่ผมอ้างอิงมาก็ได้ หรือจะจ่ายฟิดยะฮ์ตามทัศนะของเศาะหาบะฮ์ทั้ง 2 ท่านนั้นก็ได้ ..

แต่ .. จากคำถามของคุณข้างต้น - โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมื่อนางไม่มีเวลาที่จะถือบวชชดใช้ - ผมขอแนะนำให้ปฎิบัติตามทัศนะของเศาะหาบะฮ์ทั้ง 2 ท่านนั้น คือบริจาคอาหารแทนการถือบวชชดใช้ จะเป็นการดีที่สุดครับ วัลลอฮุ อะอฺลัม ...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น