ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
ดิฉันมั่นใจคำตอบอาจารย์ และคำถามมากมายที่จะถาม อย่างเรื่องของผู้เจตนาที่จะทิ้งละหมาดโดยไม่เหตุจำเป็น จะต้องละหมาดชดใช้หรือไม่ ตอนนี้มีการโจมตีอย่างหนัก ว่าพวกไม่ตามมัซฮับ ไม่ตามอุลามาฮ์ แต่เป็นกลุ่มชนเขาตาม"มุด..ตาฮิ" ซึ่งการละหมาดที่เป็นวาญิบชดละหมาดด่วนเลย ยามเจตนา และวาญิบชด สุนัตแบบด่วน เมื่ออุซุ้ร(ไม่เจตนา) อันเป็นฮูก่มจากอิจมา แต่กลุ่มชนนี้ การละทิ้งละหมาด5เวลาโดยเหตุอันควรหรือไม่มีเหตุอันควรใดๆนั้น"ไม่ต้องชดให้เสียเวลา เตาบัตก้อถือว่า พ้นแล้ว เป็นความคิดมักง่ายแบบนี้ เมื่อไรเราขี้เกียจละมาด เราก้อไม่ต้องละมาด พอสำนึกได้. แค่เตาบะก้อพ้นผิด โดยไม่ต้องชดใช้ .....ซึ่งคนเอาวามอย่างดิฉันก็ต้องคอตก จำต้องพึ่งพาความรูู้จากอาจารย์แล้วละค่ะเรื่องนี้...
ตอบ
ความจริง คนที่ละทิ้งละหมาด "โดยเจตนา" นั่นแหละครับคือคนขี้เกียจละหมาด! .. เพราะฉะนั้น คำกล่าวที่ว่า "เมื่อไรเราขี้เกียจละหมาด เราก็ไม่ต้องละหมาด" คำนี้จึงสมควรนำไปใช้กับคนที่ "ขาดละหมาดในเวลาโดยเจตนา แต่มานึกขยันตอนจะชดใช้" ถึงจะถูกต้องที่สุดครับมิใช่หรือครับ .. จะอย่างไรก็ตาม ปัญหาชดใช้ละหมาดที่ขาดโดยเจตนาว่าวายิบหรือไม่ เป็นปัญหา ขัดแย้งหรือมองต่างมุมของนักวิชาการ เพราะฉะนั้นผู้ที่กล่าวว่า "ต้องตามนักวิชาการ" จึงไม่สมควรไปประณามผู้ที่เห็นต่างกับตนเองในเรื่องนี้ เพราะมันจะไปค้านกับความเชื่อของตนเองตามหะดีษบทหนึ่งที่ว่า "ความขัดแย้งของอุมมะฮ์ของฉัน คือความโปรดปราน (ของอัลลอฺฮ์)" นะครับ .. ดังนั้นในเมื่อความขัดแย้งเป็น "เราะห์มัต" หรือความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ แล้วทำไมเราต้องไปประณามผู้ที่ได้รับเราะห์มัตล่ะครับ ตรงกันข้ามเราควรจะยกย่องเขาด้วยซ้ำมิใช่หรือครับ ? ? ....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น