มีหลายๆกรณีที่อิสลามห้าม "การกระทำ"
แต่ไม่ห้าม "ความรู้สึก"
เพราะความรู้สึกมันห้ามกันไม่ได้
โดยเฉพาะความรู้สึกเยี่ยงปุถุชนของมนุษย์ทุกคนที่ย่อมมีความรัก, ความเกลียดชัง, ความพอใจ หรือความไม่พอใจ
ตัวอย่างเช่น ในอายะฮ์ที่ 221 ซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงห้ามมิให้มุสลิมหรือมุสลิมะฮ์นิกาห์กับชาวมุชริกซึ่งเป็นเรื่องของการกระทำ แต่ถามว่า ในด้านความรู้สึก พระองค์ทรงห้ามมิให้มุสลิมชอบพอคนมุชริกที่มีรูปโฉมหรือคุณสมบัติบางอย่างต้องใจด้วยกระนั้นหรือ ? ความรู้สึกรักชอบห้ามกันได้หรือ ? ..
ข้อความจากพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า
ولو أعجبتكم
(แม้ว่านางจะเป็นที่ต้องใจของพวกเจ้าก็ตาม)
บ่งบอกความหมายว่า พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ทรงห้ามการกระทำ คือการนิกาห์กับผู้หญิงมุชริกตราบใดที่นางยังไม่ศรัทธา แต่พระองค์มิได้ทรงห้ามความรู้สึก คือความรักชอบหรือความพึงใจของเราที่มีต่อนางเมื่อนางมีคุณสมบัติถูกใจเรา
เพราะฉะนั้น กรณีการสิ้นพระชนม์ของในหลวงก็เช่นเดียวกัน..
อิสลามมิได้ห้ามความรู้สึกของมุสลิมที่จะมีความรักความอาลัยต่อการจากไปของพระองค์อันเนื่องมาจากคุณงามความดีและบุญคุณนานานัปการที่พระองค์ทรงมีต่อมุสลิม
แต่อิสลามห้ามมุสลิม "เลียนแบบ" ในการกระทำที่เป็นพิธีกรรมเฉพาะของศาสนาอื่น - เช่นการแต่งชุดดำด้วยเจตนาเพื่อไว้ทุกข์ - ดังเป็นที่ทราบกันดี
เพราะฉะนั้น ขอร้องผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักวิชาการมุสลิม - บางท่าน - อีกครั้งเถอะครับว่า กรุณาอย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บด้วยการพยายามสร้างปัญหาในสิ่งที่คนไทยทั้งพุทธและมุสลิมเข้าใจและยอมรับกันแล้ว เพราะผมสังเกตเห็นว่า ปัญหาเรื่องนี้หากจะเกิดขึ้น ก็มิใช่เกิดจากชาวพุทธ แต่เกิดจากนักวิชาการมุสลิมบางคนที่ขาดหิกมะฮ์ในการแสดงออกนี่แหละ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น