ตอบโดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
อัสลามูอาลัยกุม ...... อาจารย์คับผมมีเรือง อยากรบกวนขอความรุ้หน่อยคับ จาก ฮาดิษ ข้่างต้น ของบุคอรีและมุสลิม ที่ห้ามถึงการละหมาด โดยไม่มีผ้าปกปิดไหล (ดั่งภาพ) ........แต่เอาเราะมันแค่สะดือกับหัวเข่าไม่ไช่หรือคับ ฉะนั้น จึงอยากคำชี้แจงหนอ่ยคับว่ามันขัดหรือไม่ขัดยังไงคับ.............ปล.กระผม บ่อยครั้งที่ใส่เสือ้กล้ามละหมาดคับ..?
ตอบ
วะอลัยกุมุสสลาม .. หะดีษข้างต้นบันทึกโดยท่านบุคอรีย์ ท่านมุสลิม, ท่านอัน-นซาอีย์, ท่านอัด-ดาริมีย์และท่านอะห์มัด มีหลายสำนวนด้วยกัน ที่คุณคัดมาข้างต้น เป็นสำนวนของท่านบุคอรีย์และท่านมุสลิม มีลักษณะเป็นคำบอกเล่า แต่มีความหมายเป็นคำห้าม ดังหลักฐานจากรายงานของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์จากท่านอิหม่ามมาลิกด้วยสำนวนที่ว่า لاَ يُِّصَل (คนใดจากพวกท่านย่าอละหมาดใน .....) บันทึกโดยท่านอัฏ-ฏ็อบรอนีย์ในหนังสือ "ฆอรออิบุมาลิก" และอีกสำนวนหนึ่งที่ท่านอับดุลวะฮ์ฮาบ บินอะฏออ์ได้รายงานจากท่านอิหม่ามมาลิก มีข้อความว่า لا يصلين (คนใดจากพวกท่านอย่าละหมาดเป็นอันขาดใน .......) อันถือเป็นการห้ามเน้นๆ และอีกสำนวนหนึ่งที่ท่านอัษ-เษารีย์ได้รายงานจากท่านอบูอัซ-ซินาด มีข้อความชัดเจนว่า نهى رسول الله (ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ห้ามจาก ......) สรุปแล้ว หะดีษข้างต้นจึงเป็นหลักฐานห้ามจากการละหมาดในผ้าผืนเดียวโดยไม่มีส่วนใดของมันปกปิดไหล่ทั้งสองด้วย แต่การห้ามดังกล่าวนี้ ยังขัดแย้งกันในประเด็นที่ว่าเป็นการห้ามขาด(หะรอม) หรือห้ามในแง่ว่าเป็นสิ่งไม่สมควรกระทำ(มักรูฮ์) .. ท่านอิหม่ามนะวะวีย์กล่าวอธิบายในหนังสือชัรฺหุมุสลิมว่า นักวิชาการส่วนใหญ่ (หะนะฟีย์, มาลิกีย์ และชาฟิอีย์) ถือว่าเป็นการห้ามแบบมักรูฮ์, แต่ท่านอิหม่ามอะห์มัดถือว่า เป็นการห้ามขาด(หะรอม) ถ้าสามารถปกปิดได้ ซึ่งในมุมมองส่วนตัวผม เห็นว่า เมื่อเป็นการ "ห้าม" แบบ "เน้นๆ" จากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมอย่างนี้แล้ว เราก็ไม่ควรสนใจว่าห้ามขาดหรือห้ามไม่ขาด แต่ที่ดีที่สุดก็คือ ไม่ควรฝ่าฝืนครับ วัลลอฮุอะอฺลัม ......
ส่วนที่คุณสงสัยว่า ก็เอาเราะฮ์ของผุ้ชายมีแค่สะดือกับเข่ามิใช่หรือ ? หะดีษบทนี้ (ตามทัศนะของท่านอิหม่ามอะห์มัดที่มองว่า วะยิบต้องปกปิดไหล่ด้วย) แสดงว่า เอาเราะฮ์ของผุ้ชายในละหมาดและนอกละหมาดจะไม่เหมือนกัน คือถ้านอกละหมาด วายิบปกปิดระหว่างสะดือกับเข่า แต่ถ้าในละหมาด วายิบต้องปกปิดจนถึงไหล่ด้วย วัลลอฮุ อะอฺลัม ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น